วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ความหมายของงานการ์ตูน

           นักวิชาการเห็นความสำคัญของการใช้การ์ตูนในการเรียนการสอ น และการ์ตูนมีบทบาทในชีวิตประจำวัน จึงมีผู้สนใจศึกษา และให้ความหมายของการ์ตูนไว้ดังนี้เกษมา จงสูงเนิน ( 2533 : 17 ) ไห้ความหมายไว้ว่า การ์ตูน คือ ภาพวาดแทนสัญลักษณ์ที่แสดงออกมาซึ่งความตลกขบขัน หรือล้อเลียนสังคม ทั้งนี้อาจเกินเลยไปจากความเป็นจริง เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ หรือแสดงแนวคิดต่างๆ
คินเดอร์ (kinder . 1959 : 399 ) กล่าวไว้ว่า การ์ตูนคือภาพที่ผู้ดูสามารถจะตีความหมายได้จากสัญลักษณ์ที่มีอ ยู่ และส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่เกินจริงเพื่อสื่อความหมายหรือเสนอความ คิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ทันสมัย ตัวบุคคล หรือสถานการณ์ต่าง ๆ กันได้ทันที
ไพเราะ เรืองศิริ ( 2524 : 12 ) การ์ตูนคือภาพวาดง่าย ๆ ที่มีแบบเฉพาะตัวไม่เหมือนภาพธรรมดาทั่วไป ภาพการ์ตูนอาจมีรูปร่างที่เกินความเป็นจริงหรือลดรายละเอียดที่ ไม่จำเป็นออก เพื่อจุดมุ่งหมายในการบรรยายการแสดงออกมุ่งให้เกิดความตลกขบขัน ล้อเลียน เสียดสีการเมืองและสังคม ตลอดจนใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้หน้าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนั้นอาจจะใช้ประกอบการเล่าเรื่องบันเทิงคดี สารคดีได้อีกด้วย และที่สำคัญก็คือใช้ประกอบการเรียนการสอน ภาพวาดนี้อาจจะเป็นตอนเดียวจบหรือเป็นเรื่องสั้นๆ 2-3 ตอนจบ
วิชิต ศรีทอง ( 2526 : 21) ให้ความหมายของการ์ตูนไว้ว่าการ์ตูนคือ ภาพวาดที่เป็นสัญลักษณ์ จำลองมาจากความคิด อาจจะเป็นภาพที่เกินความจริง ภาพล้อเลียน หรือภาพที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน สำหรับใช้ในการสื่อความหมายหรือเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง ราว เหตุการณ์ตัวบุคคลหรือสถานที่
ดังนั้น จึงอาจสรุปความหมายของการ์ตูนได้ว่า การ์ตูน คือ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่เกิดจากการวาด เพื่อสร้างความตลกขบขัน สื่อความหมาย หรือล้อเลียนสังคม ซึ่งอาจมีลักษณะเกินความจริง เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ หรือแสดงแนวคิดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
การ์ตูน นอกจากเป็นเรื่องราว หรือกรอบสั้น ๆ ในหนังสือแล้ว ปัจจุบันการ์ตูนนิยมสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดความเข้ าใจมากขึ้น แต่สำหรับการ์ตูนที่นำเสนอเรื่องราวในหนังสือนิยมสร้างสำหรับกา รเรียนรู้ เพิ่มทักษะการอ่าน ไปในตัวได้ด้วย






  การ์ตูน เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ซึ่งเป็นแนวความคิด จินตนการหรือทัศนะของผู้เขียน เพื่อบอกเล่าเรื่องราว จูงใจให้เกิดความคิด สร้างอารมณ์ขัน หรือล้อเลียน
           การ์ตูน (Cartoon)   มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Carton หมายถึงรูปวาดบนกระดาษแข็งเพื่อความ
ขบขัน เช่น ภาพล้อทางการเมือง วาดในกรอบและแสดงเหตุการณ์ที่เข้าใจได้ชัดเจนโดยง่าย และมีคำบรรยายสั้นๆ
           คอมมิก (Comic) เป็นลักษณะการ์ตูนที่มีความต่อเนื่องเป็นเรื่องเป็นราวมีคำบรรยาย มีบทสนทนาในแต่ละภาพ ลักษณะจะออกมาในเชิงภาพการ์ตูนที่ไม่เน้นความจริงของกายวิภาค
           นิยายภาพ ( Illustrated Tale) เป็นการเขียนเล่าเรื่องด้วยภาพเช่นกัน แต่ลักษณะ ภาพมีความสมจริงและเขียนถูกต้องตามหลักกายวิภาค (Anatomy) การเขียนฉากประกอบ การให้แสงเงา การดำเนินเรื่องต่อเนื่องตั้งแต่กรอบแรกจนกรอบสุดท้าย ไม่ข้ามขั้นตอนอันสามารถโน้มน้าวใจผู้อ่านให้คล้อยตามเนื่องเรื่องได้เป็นอย่างดี
           ภาพล้อ (Caricature) เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า Caricare หมายถึง ภาพวาดที่ใช้
ล้อเลียนหรือเสียดสี วาดในลักษณะที่ตัดทอนหรือทำให้รูปลักษณ์บุคลิกผิดส่วนออกไป เช่น เน้นลักษณะเด่น
เฉพาะตัวของบางคนให้ดูมากเกินความเป็นจริง รวมทั้งเน้นในจุดอื่นๆ เช่น ชนชั้นทางสังคมหรือสถาบันต่างๆ ภาพล้อใช้เป็นเครื่องปลุกความรู้สึกนึกคิด ก่ออารมณ์ตอบโต้ให้เกิดแก่ผู้ดูตั้งแต่อารมณ์ขันเบาๆ จนกระทั่งถึง
ความรู้สึกโกรธแค้นรุนแรง เป็นวิถีทางในการสร้างภาพประกอบเรื่องที่ได้ผลดี เป็นเครื่องมือที่ดีในการวิพากษ์
วิจารณ์แสดงความคิดเห็นในเรื่องของสังคมศาสนา และการเมือง
   ประเภทของการ์ตูน
           แบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้
              1. การ์ตูนการเมือง (political cartoon) เป็นการ์ตูนที่มุ่งเน้นล้อ เสียดสี ประชดประชันบุคคลหรือ
เหตุการณ์ทางการเมือง เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความคิดเห็นใหม่ ๆ ลักษณะของการ์ตูนชนิดนี้อาจมีคำบรรยาย
หรือไม่มีก็ได้ นักเขียนการ์ตูนการเมืองไทยที่แฟนการเมืองรู้จักดี เช่น ประยูร จรรยาวงษ์ หรือ "ศุขเล็ก" แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (เสียชีวิตเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535), ชัย ราชวัตร "ผู้ใหญ่มาแห่งทุ่งหมาเมิน" แห่งหนังสือ
พิมพ์ไทยรัฐ, อรุณ แห่ง หนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น ฯลฯ
              2. การ์ตูนขำขัน (gag cartoons) เป็นการ์ตูนที่เน้นความขบขันเป็นหลัก อาจเสนอภาพในช่องเดียว
หรือหลายช่อง จะมีคำบรรยายหรือไม่มีก็ได้ปกติมุขตลกของการ์ตูนชนิดนี้จะหยิบมาจากเหตุการณ์ใน
ชีวิตประจำวันปัจจุบันการ์ตูนชนิดนี้กำลังได้รับความนิยมมากในสังคมไทย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การ์ตูน "ขายหัวเราะ"
              3. การ์ตูนเรื่องยาว(comics or serial cartoons) การ์ตูนที่นำเสนอเป็นเรื่องเป็นราวที่มี
ความต่อเนื่องกันจนจบมีคำบรรยายหรือบทสนทนาภายในภาพการ์ตูนชนิดนี้ปรากฎอยู่ในนิตยสารและหนังสือพิมพ์ เรียกว่า comics strips แต่ถ้านำมาพิมพ์รวมเล่มเรียกว่า comics books เช่น การ์ตูนเล่มของญี่ปุ่น
และฝรั่งการ์ตูนไทยที่นำเอาวรรณคดี นิยายพื้นบ้าน เรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ มาพิมพ์ขาย รวมทั้งการ์ตูนเล่มละบาท ก็จัดอยู่ในประเภทนี้เช่นกัน ซึ่ง จุลศักดิ์ อมรเวช หรือ จุก เบี้ยวสกุล นักเขียนการ์ตูนชื่อดังในอดีต ได้รวมเรียก
การ์ตูนไทยเหล่านี้ว่า "นิยายภาพ"
              4. การ์ตูนประกอบเรื่อง (illustrated cartoons) เป็นการ์ตูนที่ใช้ประกอบกับข้อเขียนอื่น ๆ ประกอบโฆษณาเพื่อขยายความ หรือเป็นการ์ตูนประกอบการศึกษา การ์ตูนชนิดนี้มักเป็นตัวการ์ตูนโดด ๆ ไม่มีเรื่องราวในตัวเอง
              5. การ์ตูนมีชีวิต (animated cartoons) หรือภาพยนตร์การ์ตูน เป็นการ์ตูนที่มนุษย์ใส่ชีวิต
ให้มีการเคลื่อนไหวได้ มีการลำดับภาพและเรื่องราวอย่างต่อเนื่องคล้ายกับภาพยนตร์ เพียงแต่ตัวละครเป็นการ์ตูน ปัจจุบันหนังการ์ตูนแพร่หลายออกไปอีกหลายสื่อ ทั้งหนังการ์ตูนทีวี หนังการ์ตูนโฆษณา วิดีโอการ์ตูน หรือใช้
แสดงประกอบกับนักแสดงที่เป็นคนในภาพยนตร์ ตัวอย่างหนังการ์ตูนที่ฉายในเมืองไทย เช่น สุดสาคร,โดเรมอน, ไลอ้อนคิง, เซลเลอร์มูน เป็นต้น
           
 ประโยชน์ของการ์ตูน
1.นำมาใช้ประกอบการเขียนกระดานดำ ภาพโฆษณา จัดแสดงป้ายนิเทศ ประกอบทำแผนภูมิ แผนสถิติ หรือสื่ออื่นๆได้หลากหลาย การ์ตูน เป็น ภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวบุคคล แสดงแนวความคิด หรือชี้บ่งสถานการณ์ที่ทำขึ้น เพื่อจุดมุ่งหมาย ชี้นำแนวความคิด ของผู้ดูให้มีความรู้สึกมีแนวโน้มไปกับเรื่องนั้นๆ
2.ลักษณะที่ดีของการ์ตูน คือให้ผลตามความมุ่งหมายของผู้ที่เขียนขึ้นมา ซึ่งลักษณะที่ดีนั้นจะต้องแสดงให้เห็นเพียงแนวความคิดเดียวโดยการใช้ภาพที่แสดงให้เห็นถึงการเสียดสี สร้างภาพหรือจินตนาการที่ลึกซึ้ง และให้สามารถมองเห็นเป็นเรื่องจริงจากสัญลักษณ์ประจำตัวของการ์ตูน ซึ่งทำให้เกิดอารมณ์ร่วมแก่ผู้ดู เช่นอารมณ์ขัน ตื่นเต้น เศร้าโศก โกรธแค้น เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น